บริการ

บริการอุดฟัน,ถอนฟัน,ขูดหินปูน,ทำฟันปลอม,X-Ray ฟัน,ฟอกสีฟัน,ฟันยางว่ายน้ำ,ผ่าฟันคุด,อุดช่องว่างระหว่างฟัน,ทำครอบฟัน,ทันตกรรมสำหรับเด็ก.

Translate

Saturday, June 6, 2015

ทำความรู้จักเรื่องของฟัน



 ฟันของคนเราประกอบด้วยอะไรบ้าง ลองมาดูครับ.
1. ตัวฟัน
    จะเป็นส่วนที่โผล่พ้นจากขากรรไกร  เมื่อนำมาผ่าจะเห็นดังภาพจะประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ดังนี้
  •     ชั้นเคลือบฟัน ประกอบด้วย แคลเซียมฟลูออไรด์ มีสีขาวเนื้อแน่นเป็นส่วนที่แข่งที่สุดในร่างกายของคนเรา ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อฟันในการบดเคี้ยวอาหาร
  • ชั้นเนื้อฟัน จะอยู่ถัดมาจากชั้นเคลือบฟัน จะประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตทำหน้าที่สร้างเนื้อฟันได้
  • ชั้นโพรงประสาทฟัน เนื้อคอฟัน จะประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทที่จะรับความรู้สึกเจ็บปวดมีหลอดเลือดผ่านมาทางคลองรากฟัน หากฟันผุถึงส่วนนี้ จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากกกกก จะเป็นต้องรักษารากฟัน และมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าการอุดฟันทั่วไป หากต้องการเก็บฟันซี่นั้นไว้ หากไม่ต้องการทำฟันปลอม


2. คอฟัน
    ตามภาพ คอฟันนั้นเป็นส่วนที่อยู่บริเวณเหงือก โดยส่วนใหญ่เวลาเราแปรงฟันแรง ๆ หรือแปรงฟันผิดวิธี คอฟันอาจจะสึก และเกิดอาการเสียวฟันได้เวลากินของเย็น ๆ จะเป็นต้องให้แพทย์ทำการอุดคอฟันเพื่อลดอาการเสียวฟัน และหมั่นแปรงให้ถูกวิธี
3. รากฟัน เป็นส่วนที่ติดกับขากรรไกร จะถูกห่อหุ้มด้วยเหงือก ซึ่งรากฟันของคนเราอาจจะมีตั้งแต่ 2 - 3 ราก ขึ้นไปโดยเฉพาะฟันกรามใหญ่ด้านใน อาจจะมี 3 รากก็ได้.

มาทำความรู้จักกับชนิดของฟันกันบ้างครับ.
1. ฟันแท้ ฟันของคนเราที่สมบูรณ์จะต้องมีครบ 32 ซี่ โดยแบ่งเป็นส่วนที่อยู่กับขากรรไกรบน 16 ซี่ และส่วนของขากรรไกรล่าง 16 ซี่
2. ฟันน้ำนม จะมีทั้งหมด 20 ซี่ แบ่งเป็นส่วนของขากรรไกรบน 10 ซี่ ขากรรไกรล่าง 10 ซี่ โดยฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มงอกตั้งแต่ 6 เดือน - 12 ปี โดยฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่ง ถึง 12 ปีน่ะครับ.

รู้จักหน้าที่ของฟันและรูปร่างของฟัน

1. ฟันหน้า หรือฟันตัด มีรูปร่างคล้ายลิ่มหรือจอบ สำหรับกัดหรือตัด มีทั้งหมดด้วยกัน 8 ซี่
2. ฟันเคี้ยว ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการฉีกกัดอาหาร และรักษามุมปาก มีด้วยกันทั้งหมด 4 ซี่
3. ฟันเคี้ยว หรือฟันกรามหน้ามีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร มีด้วยกันทั้งหมด 8 ซี่
4. ฟันกรามใน (กรามหลัง) จะมีความแข็งแรงมากในการใช้บดอาหาร มีด้วยกันทั้งหมด 12 ซี่

พอได้รู้จักฟันของเราเบื้องต้นแล้วน่ะครับ.หากใครรักฟันไม่อยากให้ฟันหายไปจากเรามั่นดูแลด้วยการตรวจทุก ๆ 6 เดือนครั้งน่ะครับ.

กัญญารัตน์ เด็นทัลคลินิก (แพทย์เฉพาะทางด้านรักษารากฟัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Saturday, February 28, 2015

เปิดบริการจัดฟัน เร็ว ๆ นี้

ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟันในสุราษฎร์ธานีกับคลินิกจัดฟัน,กัญญารัตน์เด็นทัลคลินิกจะเปิดให้บริการจัดฟันเร็ว ๆ นี้หลังสงกรานต์ เมษา 2558 นี้ กรุณาสอบถามรายละเอียดหลังสงกรานต์อีกครั้งเรามีแพทย์เฉพาะทางด้านการจัดฟันโดยตรง (ป.โท)
  ฉะนั้นผู้ที่กำลังหาคลินิกจัดฟันอย่าพลาดบริการกับเรา และกรุณาเคลียช่องปากของท่านให้เรียบร้อยเช่น อุดฟันที่ผุ ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด เป็นต้น หรือแม้แต่การรักษารากฟันกับฟันที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน ท่านควรมาให้แพทย์ทำการตรวจเบื้องต้นก่อนการจัดฟัน เพราะบ้างครั้งแพทย์ทางด้านการจัดฟันต้องถอนฟันที่ผุ หรือฟันที่ดีออก เพื่อการเคลื่อนที่ของฟันได้ดีขึ้น.ท่านก็ไม่ต้องเสียเงินฟรีกับฟันที่อุดไปหากเกิดการถอดฟันซี่นั้นไป.แต่เบื้องต้นท่านต้องขูดหินปูนให้เรียบร้อยน่ะครับ...ฝากประชาสัมพันธ์ถึงเพื่อน ๆ พี่น้องที่ต้องการจัดฟันด้วยน่ะครับ.โดยการ Share ..

Monday, January 5, 2015

ฟันของเรา



ฟันของเรามี 2 ชุด ได้แก่

  1. ฟันน้ำนม มี 20 ซี่
  2. ฟันแท้     มี 32 ซี่
ฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-7 เดือน และจะค่อย ๆ ขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 2-3 ปี ฟันน้ำนมมีขนาดเล็ก สีขาวเหมือนน้ำนม

ฟันแท้ซี่ใหญ่กว่าและมีสีเหลืองกว่าฟันน้ำนม
  ฟันแท้ซี่แรก เริ่มขึ้นมาเมื่ออายุ 6 ปี เป็นกรามซี่ที่ 1 จะขึ้นถัดฟันกรามน้ำนมเข้าไปข้างใน ฟันน้ำนมจะเริ่มโยกและหลุดไปและมีฟันแท้ขึ้นมาแทนจนครบทุกซี่

หน้าที่ของฟันน้ำนม
  1. ใช้บดเคี้ยวอาหาร
  2. ช่วยให้ออกเสียงพูดได้ชัด ออกเสียงพยัญชนะ  ฉ ช ซ ส ฝ ฟ ได้ชัดเจน
  3. ทำให้ยิ้มสวยงาม
  4. เก็บที่สำหรัีบฟันแท้ให้ขึ้นแทนที่ได้
ฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญ มีประโยชน์มาก เราต้องรักษาฟันให้สะอาด ไม่ให้ฟันผุ ฟันสะอาดแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง

Sunday, December 21, 2014

ทำไมต้องเคลือบหลุมร่องฟัน



 ฟันกรามด้านบดเคี้ยวโดยเฉพาะฟันกรามที่ขึ้นใหม่ ๆ จะเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุได้มาก เพราะเป็นบริเวณที่มีพื้นผิวไม่เรียบมีร่องลึกเป็นที่สะสมของเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ จากสาเหตุนี้ฟันกรามของเด็ก ๆ จึงผุกันมาก ได้มีการพยายามที่จะป้องกัน ฟันผุบริเวณนี้หลายรูปแบบจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยวิธีการใช้สารคล้ายพลาสติกปิดทับร่องฟัน หรือที่เรียกกันว่าการเคลือบหลุมร่องฟัน สารเคลือบร่องฟันจะทำหน้าที่เหมือนเกราะคลุมอยู่บนร่องฟันป้องกันร่องฟันไม่ให้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่จะมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ และยังช่วยให้สามารถทำความสะอาดที่ด้านบดเคี้ยวได้ง่ายขึ้น  จากการศึกษาพบว่า เคลือบร่องฟันจะช่วยลดการเกิดโรคฟันผุได้ผลดี

Saturday, December 20, 2014

SDF ต่างกับ Fluoride Varnish อย่างไร



   ทันตแพทย์หลาย ๆ ท่านรู้จัก Fluoride varnish ว่าเป็นสารที่ทาเพื่อป้องกันฟันผุ ซึ่งหมายถึงการทาง Fluoride varnish ในฟันที่ยังไม่ผุหรือเริ่มผุที่เห็นเป็น white spot เท่านั้น ในฟันที่ผุเป็นรูแล้วนั้น Fluoride varnish มีผลน้อยมากในการหยุดยั้งการผุ (แต่มีทันตแพทย์หลายท่านบอกว่า เวลาที่ออกหน่วย ทา Fluoride varnish ในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนั้น ก็ทาทั้งส่วนผิวปกติ และรูฟันผุด้วย โดยหวังผลว่าจะได้ประโยชน์ได้ )
   ในทางกลับกัน SDF เป้นสารที่ทาเพื่อหยุดยั้งฟันผุ (arrest) นั่นหมายถึง ต้องมีฟันผุเป็นรูก่อนแล้วจึงทาเพื่อให้ฟันที่ผุนั้น หยุดผุ ไม่ผุลุกลามต่อไป แต่อย่างไรก็ดี มีนักวิจัยหลายท่านที่ใช้ SDF ในลักษณะที่เป็นการป้องกันฟันผุ คือทาลงบนผิวของฟันที่ปกติ หรือเริ่มผุ ซึ่งได้ผลพอใช้ได้ในการป้องกันฟันผุ (Sato and Saito 1970; Green 1989; Kitahara 1996)
   มีการศึกษาเปรียบเทียบผลของการป้องกันฟันผุ ระหว่าง SDF และ Fluoride varnish หลายการศึกษา พบว่า SDF ให้ผลในการป้องกันฟันผุดีกว่า Fluoride varnish (Chu,Lo et al. 2002) และจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) ของนักวิจัยกลุ่มหนึ่งซึ่งรา่ยงานว่า SDF มีประสิทธิภาพป้องกันฟันผุดีกว่า Fluoride varnish (Rosenblatt,Stamford et al. 2009) อย่างไรก็ตามก็มีนักวิจัยที่เห็นแย้งว่า ไม่ควรสรุปชัดเจนเช่นนั้น เพราะงานวิจัยที่รวมอยู่ในการทบทวนวรรณกรรมมีเพียง 2 การศึกษาเท่านั้น (Beltran-Aguilar 2010)
   การตัดสินใจเชื่อถืองานวิจัยใด เราต้องพิจารณาว่า Fluoride varnish สามารถป้องกันฟันผุได้ด้วยกระบวนการใด และ SDF สามารถป้องกันฟันผุได้อย่างไร เราจึงจะพิจารณาตัดสินใจได้
   สรุปสั้น ๆ ได้ว่า Fluoride varnish ใช้ป้องกันฟันผุ (Caries prevention) ส่วน SDF ใช้หยุดยั้งหรือควบคุมฟันผุ (Caries Control) และอาจใช้ป้องกันฟันผุได้ด้วย

ที่มา : SDF for Thai Children ทางเลือกในการควบคุมฟันผุ (อาจารย์ ทันตแพทย์ ดร.ธงชัย  วชิรโรจน์ไพศาล)

Friday, August 8, 2014

ทำไมต้องแปรงฟันแปรงลิ้น และแปรงเวลาไหนบ้าง


การแปรงฟัน เป็นวิธีการช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารที่ตกค้างออกจากช่องปาก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ แปรงฟัน แล้วควรแปรงด้านบนของลิ้นด้วยเพราะผิวบนของลิ้นไม่เรียบจึงเป็นแหล่งที่ตกค้างของเศษอาหารชิ้นเล็ก ๆ การแปรงฟันจะช่วยให้ปากสะอาดไม่เป็นโรคและยังช่วยไม่ให้มีกลิ่นปาก เพราะเมื่อไม่มีเศษอาหารที่ตกค้างก็ไม่มีการบูดเน่าเกิดขึ้นในช่องปากอันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ วันหนึ่ง ๆ ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังการรับประทานอาหารมื้อหลักทั้ง 3 มื้อ แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่จะแปรงฟันหลังอาหารกลางวันก็ควรแปรงฟันอย่างน้อยที่สุดวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและก่อนเข้านอน

ที่มา : 101 ปัญหาในช่องปาก หนังสือสำหรับประชาชน กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย


Thursday, July 24, 2014

ฟลูออไรด์มีอันตรายถึงชีวิตได้ไหม


   การรับประทานฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูงมาก ๆ จะเกิดพิษอย่างเฉียบพลันและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีิวิตได้ อาการที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับปริมาณของฟลูออไรด์ที่ได้รับเริ่มตั้งแต่ การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ขาดออกซิเจน หายใจติดขัด จนถึงขั้นเสียชีวิต ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิต ในเด็กจะมีปริมาณระหว่าง 5-30 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่จะมีค่าระหว่าง 32 - 64 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตัวอย่างเช่นเด็กหนัก 20 กิโลกรัม หากรับประทานฟลูออไรด์ 100 - 600 มิลลิกรัม ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการเก็บยาเม็ดฟลูออไรด์ จึงควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและเด็กไม่สามารถหยิบเองได้

ที่มา : 101 ปัญหาในช่องปาก หนังสือสำหรับประชาชน กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย